ประวัติกีฬาซีเกมส์( กีฬาแหลมทองครั้งที่ ๑ กรุงเทพฯ ๒๕๐๒ )
ซีเกมส์ กำเนิดมาจากกีฬาแหลมทองและกีฬาแหลมทองได้เกิดขึ้น ที่ไทยโดยคนไทย
และ มาสิ้นสุดที่ไทยก่อนที่จะกลายเป็น “ ซีเกมส์ ” ด้วยเหตุผลดังนี้ กีฬาแหลมทอง กำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปลายปี ๒๕๐๐ ด้วยการริเริ่มของคุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ โดยในระยะนั้นประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้มีการติดต่อทางการ กีฬากันเป็นประจำ โดยเฉพาะพม่าได้มีสาส์นเชิญประเทศไทยให้ส่งนักกีฬาไปร่วมแข่งขัน ฟุตบอล รักบี้ แบดมินตัน ลอนเทนนิส มวยสากล บาสเกตบอล เป็นประจำเกือบจะเรียกว่า เป็นประเพณีก็ว่าได้ ด้วยเหตุนี้ คุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย จึงได้เกิดความคิดขึ้นมาว่า “ น่าจะจัดแข่งขันกีฬาระหว่างชาติในกลุ่มแหลมทอง” ขึ้นในลักษณะคล้ายคลึงกับ “ เอเชี่ยนเกมส์ ” หรือ “ โอลิมปิก ” เพราะประชาชาติที่อยู่ในภาคพื้นนี้มีความเป็นอยู่ อากาศและรูปร่างคล้ายคลึงกันมาก ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการกีฬาของชาติในกลุ่มแหลมทองให้สูงขึ้น เพื่อเตรียมเข้าร่วมแข่งขันกีฬาเกมใหญ่ ๆ เช่น เอเชี่ยนเกมส์ โอลิมปิกเกมส์ และเพื่อ “ สร้างสรรค์ความสัมพันธ์ไมตรีและความร่วมมือระหว่างชาติเพื่อนบ้านกลุ่มแหลม ทอง ”

ปี ๒๕๐๑ คุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ ได้นำความคิดเห็นของท่านฝากไปกับ ม . ร . เดฟ คิชเตอร์ ผู้ฝึกสอนกิตติมศักดิ์ของสมาคมกรีฑาไทยที่จะเดินทางไปประเทศเขมร เวียตนาม เป็นการส่วนตัว ระหว่างวันที่ ๘ – ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๑ เพื่อได้ปรึกษาซาวเสียงประเทศเหล่านั้นดูปรากฏว่าทั้งเขมร เวียตนาม ในสมัยนั้นได้สนับสนุนความคิดริเริ่มของคุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์อย่างเต็ม ที่ ต่อมาคุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ จึงได้นำความคิดเห็นของท่านที่จะจัดแข่งขันกีฬาระหว่างชาติในกลุ่มแหลมทอง รวมทั้งที่ได้รับการสนับสนุนจากชาติเพื่อนบ้าน เสนอเป็นการปรึกษาต่อที่ประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกครั้งแรก
เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๑ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแล้วรับหลักการเห็นควรให้จัดการแข่งขันครั้งแรกที่กรุงเทพฯ
ใน เดือนธันวาคม ๒๕๐๑ พร้อมกับได้มอบให้ คุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ นายกอง วิสุทธารมณ์ และนายสวัสดิ์ เลขยานนท์ เป็นผู้ดำเนินการวางโครงการและรายละเอียดต่อไป และได้รับ อนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในโอกาสต่อมาในระหว่างการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ ๓ ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๐๑ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งประกอบด้วย คุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์
นายกอง วิสุทธารมณ์ นายสวัสดิ์ เลขยานนท์ เป็นผู้แทนไทยเดินทางนำข้อเสนอแนะการจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศในกลุ่ม แหลมทองไปหารือ ปรึกษาระหว่างชาติในภาคพื้นแหลมทองขึ้นที่โตเกียวประเทศที่เข้าร่วมประชุมมี ไทย พม่า มาเลเซีย ลาว กัมพูชา และเวียตนาม ที่ประชุมเห็นชอบและมีมติให้ใช้ชื่อการแข่งขันนี้ว่า “ กีฬาแหลมทอง ” เพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศไทย จึงให้จัดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศไทย
ในปี ๒๕๐๒ การพิจารณากัน เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๐๑ อีกครั้ง และมีความเห็นว่าเพื่อให้มีการเตรียมการให้ทันจึงให้เลื่อนการแข่งขันไปเป็น เดือนธันวาคม ๒๕๐๒พร้อมกันนั้นได้ตั้ง พ . ท . เอิบ แสงฤทธิ์ , ดร . คลุ้ม วัชโรบล และนายแพทย์บุญสม มาร์ตินเป็นผู้คิดงบประมาณค่าใช้จ่ายในการแข่งขันครั้งนี้ด้วย ต่อมาได้มีการแต่งตั้งให้ พล . ท . ประภาส จารุเสถียร ( ยศในสมัยนั้น ) ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นประธานมนตรีสหพันธ์กีฬาแหลมทองคนแรก และคุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ เป็นประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน


ข้อหารือและมติในการประชุมที่โตเกียว ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๐๑
๑. ผู้แทนที่เข้าร่วมประชุมมีความยินดีและเห็นชอบในหลักการที่จะเข้าร่วม การแข่งขันกีฬาแหลมทอง
บางประเทศแถลงการแข่งขันกีฬาระดับนี้เป็น กรณีระหว่างประเทศ ซึ่งจะต้องขอรับความเห็นชอบจากรัฐบาลของตนก่อน
๒. ที่ประชุมมีมติให้จัดการแข่งขันกีฬานี้ทุกๆ ๒ ปี เพื่อให้มีขึ้นในระหว่างระยะเวลาการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ และโอลิมปิค ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอให้มีการแข่งขันกีฬาเป็นครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ในปี ๒๕๐๒
๓. ให้มีการจัดทำธรรมนูญขึ้นโดยเร็วที่สุดที่จะเร็วได้
๔. สหพันธ์กีฬาแหลมทองจะประกอบด้วยผู้แทนของประเทศภาคี ประเทศละไม่เกิน ๓ คน มนตรีสหพันธ์ที่ได้รับการแต่งตั้งเหล่านี้จะมีการประชุมก่อนการแข่งขันแต่ละ ครั้ง
๕. ประเทศไทยเสนอให้มีการแข่งขันกีฬา ๑๒ อย่าง คือ ฟุตบอล บาสเกตบอล ยกน้ำหนัก วอลเลย์บอล
มวยสากล แบดมินตัน ลอนเทนนิส จักรยาน ( ประเภทถนน ) ว่ายน้ำ เทเบิลเทนนิส และยิงปืน
๖. ให้กรีฑาเป็นกีฬาบังคับ ส่วนกีฬาอื่นให้เลือกได้แต่ต้องมีประเทศที่ เข้าร่วมการแข่งขันไม่น้อยกว่า ๓ ประเทศด้วยกัน
๗. ภาคีแต่ละประเทศจะต้องจ่ายค่าเดินทางไปยังกรุงเทพฯ และกลับเอง ถ้าเดินทางด้วยรถไฟ ประเทศไทย
จะพยายามจัดรถพยาบาล จัดรถพิเศษ และลดราคาค่าโดยสารให้ทีมต่างๆ นั้นในช่วงที่อยู่ประเทศไทย
๘. คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะให้มีที่พัก อาหาร และพาหนะภายในประเทศ และภาคีแต่ละประเทศ
จะต้องเสียค่าที่พัก อาหาร ให้นักกีฬาและเจ้าหน้าที่คนละ ๘ เหรียญต่อวัน เพื่อช่วยค่าใช้จ่าย ตามที่เคยปฏิบัติในเอเชี่ยนเกมส์
๙. จะมีพิธีเปิดและพิธีปิดการแข่งขัน
๑๐. ระยะการแข่งขันมีกำหนด ๕ วัน คณะนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันอาจมาพักอยู่ได้ ๕ วัน ก่อนวันที่ทำการแข่งขัน
๑๑. ได้มีการหารือและพิจารณาธงเครื่องหมายของกีฬาแหลมทองด้วย
๑๒. ภาคีประเทศจะจัดให้มีการจุดไฟพิธีในประเทศของตนและนำมารวมกัน ที่กรุงเทพฯ ในพิธีเปิดการแข่งขันจะมีผู้ถือคบไฟ ๖ คน จากประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันประเทศละ ๑ คน ซึ่งจะได้มาจุดพร้อมกันที่กระถางไฟพิธี
๑๓ . ได้มีการหารือในการจัด “ ตะกร้อ ” เป็นกีฬาแสดงการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งแรกเดิมกำหนดว่าจะลงแข่ง เดือนมกราคม ๒๕๐๒ ต่อมาคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ได้มีการพิจารณากัน เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๐๑ อีกครั้ง และมีความเห็นว่าเพื่อให้มีการเตรียมการได้ทันจึงให้เลื่อนการแข่งขันไปเป็น เดือนธันวาคม ๒๕๐๒ พร้อมกันนั้นได้ตั้ง พ . ท . เอิบ แสงฤทธิ์ ดร . คลุ้ม วัชโรบล และนายแพทย์บุญสม มาต์ติน เป็นผู้คิดงบประมาณค่าใช้จ่ายในการแข่งขันครั้งนี้ด้วยต่อมาได้มีการแต่ง ตั้งให้ พล . ท . ประภาส จารุเสถียร ( ยศในสมัยนั้น ) ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นประธานมนตรีสหพันธ์กีฬาแหลมทองคนแรก และคุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ เป็นประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน

0 comments